ส.2 สมมติฐาน


Final Project : Corn Topping

ส.2 สมมติฐาน (Resume)
เนื่องจากได้รับโครงการข้าวโพดหวานของจังหวัดกาญจณบุรี นำมาเป็นสินค้าแปรรูปซึ่ง ได้ทำการสำรวจ แล้วว่าสินค้าที่เป็นครีมหรือToppingที่ไว้ทนคู่กับขนมปังหรือทานกับอย่างอื่น ที่เป็นทำมาจากข้าวโพดนั้นยังมีไม่มากและในรูปแบบของเนยหรือแยมข้าวโพดนั้นยังไม่ ค่อยจะมีให้เห็นมากนัก กระผมจึงได้นำข้าวโพดหวานของจังหวัดกาญจณบุรีมาแปรรูป ในลักษณะครีมข้าวโพด

แรงบันดาลใจ (Inspiration)
ได้มาจากเนยถั่วที่มีตามท้องตลาดทั่วไป เนย แยมผลไม้ในรสชาติต่าง ๆ


ที่มาhttp://cdn.learners.in.th/assets/media/files/000/127/814/original_551000014804401.jpg?1285641581


แรงบันดาลใจ ได้มาจากการที่ทานครั้งเดียวหมดจึงเป็นครีมที่ทำใหม่ สด อยู่ตลอดซึ่งทำให้รสชาติของตัวเนื้อครีมมีความหอมหวานอยู่เสมอ ดังนั้น กระผมจึงทำบรรจุภัณฑ์ใน ลักษณะ ที่เป็นแบบถ้วยพลาสติกขนาดเล็ก ในแบบที่เรียกว่า Dip ซึ่งทำให้เกิดความ สะดวกสะสบายในการพกพาและยังสามารถเป็น Topping ไว้ทานคู่กับอย่างอื่นได้อีกด้วย




ที่มาhttp://www.thaitechno.net/uploadedimages/c1/Product_35639_468353898_fullsize.gif

การพัฒนาข้าวโพดหวาน ให้เป็น ครีมข้าวโพด

โดยมีแนวคิดมาจากรูปแบบของเนยถั่วที่มีอยู่ทั่วไป แต่เรามาดัดแปลงให้เป็นครีมข้าวโพดแทน


สูตร Cream-Corn
ข้าวโพด 50 กรัม
เนย 1 ช้อนโต๊ะ
นำ้ตาล 30 กรัม
เกลือ 5 กรัม
แป้งข้าวโพด 2 ช้อนโต๊ะ
วิปปิ้งครีม 80 ซีซี

วิธีการทำ
1.อุ่นวิปปิ้งครีมด้วยไฟอ่อน ๆ และนำกะทะตั้งไฟอ่อนใส่เนย



2.นำข้าวโพดข้าวหวานมาสับให้ละเอียด

3.นำข้าวโพดที่สับใส่ในกะทะที่ตั้งไฟไว้กับเนย ผัดให้มีกลิ่นหอม

4.เช็ควิปปิ้งครีมที่ตั้งอุ่นไว้ให้พออุ่น ๆ และนำน้ำตาลกับเกลือที่เตรียมไว้ใส่ลงในหม้อและคนให้ละลาย ให้นำโพดที่ผัดใส่ลงไปตั้งทิ้งไว้ต่ออีกซักพัก

5.นำเนยตั้งไฟให้ละลายและนำแป้งข้าวโพดที่เตรียมไว้ลงไปผัด

6.ให้นำวิปปิ้งครีมกับข้าวโพดที่อุ่นไว้เทลงในกะทะแป้งข้าวโพดที่ผัดไว้

7.เบาไฟเล็กน้อยคนจนวิปปิ้งครีมเริ่มข้น

8.เมื่อข้นจนได้ที่ให้ดับไฟและตั้งพักไว้ก่อนนำไปบรรจุภัณฑ์


สรุปผลการทดลอง
จากการที่ลองทำครีมข้าวโพดเป็นครั้งแรกและได้ให้คนในครอบครัวและบุคคลทั่วไปได้ลองชิม ส่วนใหญ่บอกว่าอร่อย แต่ก็มีเค็มหรือหวานไป พอทานเข้าไปมาก ๆ รู้สึกเลียน

ปัญหาที่พบในการทดลอง
1.รสชาติในการทำแต่ละครั้งไม่คงที่
2.เก็บได้ไม่นาน

การแก้ปัญหา
1.ต้องมีวัดปริมาณในแต่ละครั้ง
2.อาจต้องมีการพาสเจอร์ไรส์ (Pasteurization) หรือผสมสารกันเสีย ชนิดโซเดียมเบนโซเอท (Sodium
Benzoate)

แบบโลโก้ (sketch)
แนวคิดฝักข้าวโพดที่สด ๆ แต่ไม่เหมือนจริงจนเกินไป

แบบโลโก้ที่เลือก
แบบ Packaging

โดยแบบ Packaging มีอยู่ 2 แบบด้วยกัน คือมีแบบครีมละเอียด(Smooth) กับ แบบครีมหยาบ(Extra)
ส่วนคำว่า Dip คือการจุ่มซึ่งจะสื่อหมายความว่าสามารถทานได้เลยไม่ต้องที่พิธีการใด ๆ ทั้งสิ้น